วันเสาร์, 23 พฤศจิกายน 2567

Booking.com

ชีวิตในต่างแดน ตอนที่ 2

เผยแพร่เมื่อ 04 สิงหาคม 2556 โดย Atthetime
ชีวิตในต่างแดน ตอนที่ 2 Panit Netrabukkana

ตอนที่ 2 :ที่อยู่อาศัยหรือที่พักในต่างแดน

สวัสดีครับอาทิตย์นี้คงเป็นอาทิตย์ที่สองที่ผมมาแชร์ประสบการณ์ให้ฟังกัน สำหรับอาทิตย์นี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยหรือที่พักในต่างแดนอย่างเช่นที่ผมเคยพูดถึงเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในตอนที่แล้วว่าการหาที่อยู่อาศัยนั้นต้องมีที่สะดวกสบาย และไม่ไกลจากความเจริญของเมืองมากเกินไป มิเช่นนั้นเราก็อาจจะอยู่อย่างลำบากหรือไม่มีความสุขก็เป็นได้ ฉะนั้นเราลองมาดูกันว่าที่พักอาศัยส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นกี่แบบและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วผมได้เล่าถึงตอนที่ผมได้ไปอยู่ Homestay ที่ประเทศอังกฤษ การอยู่ Homestay นั้นถือว่าสะดวกสบายมากสำหรับนักเรียนอย่างเราแต่การที่จะหา Homestay ที่ดีเพื่อที่จะให้เราอยู่อย่างสบายใจนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ตอนที่ผมอยู่ประเทศอังกฤษ Homestay ที่นักเรียนอยู่ส่วนใหญ่นั้นถือว่าใช้ได้เลยที่เดียว แต่ถ้า Homestay ที่แย่ไปเลยนั้นก็จะเหมือนกับที่เพื่อนรุ่นพี่ผมเจอ จนทนไม่ไหวต้องออกมาอยู่โรงแรม ที่แย่นั้นเริ่มตั้งแต่ห้องนอนที่ไม่มีหน้าต่างเหมือนกับห้องใต้ดิน รวมไปถึงอาหารเย็นที่ใช้ช้อนซ้อมขึ้นสนิม และสิ่งที่แย่ที่สุดคือเตียงนอนที่เหมือนกับการนำฟูกมาวางลงบนเสา4ต้น ที่พอเวลานอนมันแทบจะรับน้ำหนักตัวเราไม่ได้เลย สุดท้ายรุ่นพี่ผมก็ทนไม่ได้จนต้องหนีออกจาก HomeStay และการเดินทางครั้งนั้นอาจจะเป็นประสบการณ์ที่เลวร้ายที่สุดของรุ่นพี่เลยก็ว่าได้

ที่พักอาศัยถูกแบ่งออกเป็น 5 แบบ คือ

1.Homestay Host Family: เป็นการเลือกที่อยู่อาศัยแบบพักอยู่กับครอบครัวชาวต่างชาติโดยที่นักเรียนจะได้รับการดูแลเปรียบเสมือนญาติและจะมีความปลอดภัยสูงเพราะทางสถาบันที่จัดหาที่พักส่วนใหญ่นั้นจะทำการคัดเลือกครอบครัวที่พร้อมจะดูแลเด็กและผ่านการตรวจประวัติอาชญากรรมจากทางตำรวจ บ้านพักแบบ Homestay/ Host Family จึงมีความสะดวกสบาย เพราะสามารถใช้อุปกรณ์ในบ้านได้เหมือนของเรา (แต่ไม่รวมของใช้ส่วนตัวหรือค่าโทรศัพท์นะครับ) โดยส่วนใหญ่แล้วค่าที่พักมักจะรวมค่าอาคาร 2 มื้อต่อวัน/สัปดาห์ หรือ 2 มื้อในวันจัทร์ถึงศุกร์และ 3 มื้อในวันเสาร์และอาทิตย์ นักศึกษามีสิทธ์ที่จะเลือกที่พักได้อย่างอิสระและสามารถขอเปลี่ยนได้ถ้าหากเราไม่พอใจแต่เราต้องมีเหตุผลว่า เพราะอะไรเราถึงอยากเปลี่ยน

2.Resdence/ Dormitory: เป็นที่พักของสถาบันบางแห่งตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัย หรือใกล้กับสถาบันห้องพักจะมีหลากหลายเช่นห้องเดี่ยวหรือห้องคู่โดยส่วนใหญ่จะมีห้องครัว, ห้องน้ำ, ห้องซักผ้าที่ใช้ร่วมกันหรือแยกเป็นส่วนตัวขึ้นอยู่กับชนิดของห้อง หอพักจะแยกเป็นหอพักชาย/หญิง หรือหอพักรวมนักศึกษาสามารถเลือกห้องพักที่รวมอาหารหรือไม่รวมอาหารได้ นอกจากนี้นักศึกษายังได้พบเพื่อนใหม่ ๆ ที่เป็นต่างชนชาติและส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ข้อดีของการพักในสถาบันอีกสิ่งหนึ่งคือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของทางมหาวิทยาลัยมากขึ้น แต่ค่าใช่จ่ายนั้นจะแพงกว่าที่เราออกมาอยู่เอง

3.Hotel:ที่พักชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง โดยส่วนใหญ่แล้วนักเรียนหรือนักศึกษาจะไม่พักในโรงแรมเพราะราคาแพงมาก ถึงแม้ว่าจะสะดวกสบายก็ตามที

4.Hostel: เป็นที่พักคล้อยโรงแรมแต่จะมีการแชร์ห้องนอน ห้องนํ้า และห้องครัวร่วมกับผู้อื่นตั้งแต่ 4-8 คน และมีห้องนํ้าส่วนตัวแยกชาย-หญิงหรือห้องรวม ราคาห้องพักนั้นจะถูกกว่าโรงแรมมาก

5.Off-CampusHousing: เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักศึกษาที่ต้องการมีที่พักส่วนตัวหรืออาศัยร่วมกับเพื่อน ๆ โดยทางมหาวิทยาลัยจะอำนวยความสะดวกในการจัดหาข่าวสารและติดประกาศเกี่ยวกับที่พักและมีราคาไม่สูงมาก (เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้) โดยจะมีการติดประกาศที่บอร์ดของสถาบันหรือดูได้จากหนังสือพิมพ์ที่พักจะมี2ลักษณะคือแบบบ้านและอพาร์ทเม้นท์หรือจะหาเอาจากเว็บไซด์นักศึกษาควรศึกษาข้อมูลหรือเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขให้รอบคอบก่อนการทำสัญญาเช่า แต่ถ้าเกิดปัญหาควรติดต่อกับหน่วยงานดูแลการเช่าที่พักอาศัยในเขตนั้น ๆ โดยทั่วไปอัตราค่าเช่าบ้าน ( แบ่งเช่า ) ประมาณ 320-700 เหรียญต่อเดือน และสำหรับห้องพักหรืออพาร์ทเม้นท์ประมาณ 600-1,500 เหรียญต่อเดือนขึ้นอยู่กับสถานที่และความสะดวกสบายการเช่าและ อพาร์ทเม้นท์มี 2 ชนิดคือ แบบมีเฟอร์นิเจอร์ หรือ ผู้เช่าต้องซื้อเอง

หวังว่าคงยังไม่ได้เบื่อกันก่อนนะครับ เพราะเดี๋ยวอาทิตย์หน้าเราจะกลับมาพร้อมเรื่องอะไรนั้นผมขอเก็บเป็น Surprise ก็แล้วกัน สำหรับวันนี้ลาไปก่อนครับ บะบาย

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 15 ก.ย. 2557
Atthetime

Atthetime