"เรียนไม่เก่ง เอนท์ไม่ติด ชีวิตเคว้งคว้าง เพื่อน ๆ ต่างมีเป้าหมายกันชัดเจน ส่วนตัวเรายังมึน ๆ ไม่รู้ว่าชีวิตจะไปทางไหน..." เชื่อว่าอารมณ์นี้มีคนไม่มากก็น้อยที่เคยรู้สึก เคยผ่าน หรือแบบ เฮ้ย! นี่มันฉันเลยนี่นา.. วันนี้ทีมงานมาบริสเบนได้มีโอกาสพูดคุยกับ ฝ้าย-กุลจิรา มานิมนต์ PhD Candidate ที่ School of Advertising, Marketing and Public Relations มหาวิทยาลัยแนวหน้าของออสเตรเลีย QUT Business School | Queensland University of Technology กับประสบการณ์ความมึน ที่ทำให้เธอมีโอกาสได้ศึกษาต่อและเที่ยวในหลายประเทศ อีกทั้งยังได้ทำงานกับองค์กรสำคัญหลายแห่ง และในปัจจุบันเธอยังเป็น Consular Officer ที่ สถานกงสุลไทยในควีนส์แลนด์ อีกด้วย
เป็นยังไงบ้างกับชีวิตของนักเรียน PhD
แต่สิ่งที่เค้าเน้นและพยายามบอกฝ้ายตลอดระหว่างช่วงที่หาไอเดียคือการทำอะไรก็ได้ที่มันทำให้เรามีความสุขจริงๆ ในความสุขที่นี้คือ ความสุขที่เราจะตื่นแล้วเจอมันทุกวันแบบนี้ไปเรื่อยๆ อีก 4 ปี แล้วพอไอเดียเราผ่านปุ๊บ ฝ้ายก็จะเริ่มเรียนพวก coursework เป็นแบบ research methodology เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลทำยังไง ซึ่งมีเรียนประมาณ 5 วิชา แล้ววิชาพวกนี้เราก็ต้องเรียนให้ผ่านด้วยนะ เพราะว่ามันจะมีผลลงในใบคะแนนเรียน (transcript) เรียน 2 วิชาต่อ 1 เทอม แต่มันก็ค่อนข้างหนัก เพราะระหว่างนั้นเราก็ต้องทำ assignment ของวิชานั้น ๆ ไปด้วย แล้วก็ทำงานตัวเอง (งานวิจัย) ไปด้วย ที่เราต้องเรียน coursework ก็เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมตัวงานวิจัยของเรา
ฟังดูแล้วหนักจริง ๆ อย่างนี้เราสามารถเลือกที่จะเรียนเฉพาะ 5 วิชาให้จบก่อน แล้วค่อยมาทำวิจัยได้มั้ย
พอครบ 1 ปีที่เรียนมาก็ต้องมาสอบ PhD Confirmation Seminar จำไม่ได้เหมือนกันว่าวิทยานิพนธ์เขียนกี่หน้า แต่เราต้องเขียนครึ่งนึงของวิทยานิพนธ์ คือเค้าบอกว่า ดูแล้วมันเป็นเนื้อหาของตัวที่จะเป็นวิทยานิพนธ์แล้ว ก็จะมีพวก introduction, literature review ซึ่งก็คือการรีวิวงานเก่า ๆ ว่าเค้าทำอะไรกันมาแล้วบ้าง แล้วก็ต้องมี hypotheses, model testing, research methodology ว่าเราจะเก็บข้อมูลยังไง จะเก็บกับใคร ก็คือเราต้องแพลนเขียนออกมาให้หมด เราก็ต้องเอาสิ่งนั้นเนี่ย ไปพูด พรีเซนต์
ใช้เวลาประมาณ 45 นาทีในการพรีเซนต์ ซึ่งตอนแรกคิดว่านานนนมาก ใครจะพูดอะไรได้นานขนาดนั้น เพราะส่วนใหญ่เวลาพรีเซนต์อย่างมากก็ 10 นาที แต่จริง ๆ แล้ว งานที่เราทำมาตลอด 1 ปีน่ะ มันมีอะไรให้พูดเยอะมาก พอเอาเข้าจริงเราก็รัวเลย ไม่ได้หายใจ (ฮา) ของฝ้ายใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที ซึ่งก็โอเค อาจารย์ก็แนะนำว่า 30-35 นาที กำลังดี เพราะถ้ามากกว่านั้นคนฟังจะเหนื่อย เบื่อ หรือไปแบไต๋เค้าหมด ก็จะทำให้เค้าไม่สนใจอยากศึกษางานวิจัยของเราเพิ่มเติม ก็ต้องกั๊ก ๆ ไว้นิดนึง แล้วก็ 20 นาทีสำหรับคำถาม กรรมการที่ตัดสินก็จะมีพวก supervisors แล้วก็ตัวแทนจากคณะอื่น ๆ เพราะว่าจะมีอีเมล์ส่งไปทั่วคณะ ทั่วมหาลัย ใครที่สนใจก็เข้ามาฟังได้
เกี่ยวกับงานวิจัยที่ฝ้ายทำอยู่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
ก็กลับไปนั่งคิดเกือบเดือน แล้วก็ได้คำตอบกลับมาเกี่ยวกับการถ่ายรูปอาหาร การตระเวนไปกินอาหารตามที่ต่าง ๆ หรือเรียกได้ว่าพวกรูปอาหาร (FoodPorn) ที่เราเห็นตามโซเชียลมีเดีย ก็คือพอเรามองเห็นภาพอาหารปุ๊บเรารูสึกได้ถึง destination brand awareness หรือ image ของสถานที่ขายอาหารนั้น ๆ มั้ย เราเห็นภาพชัดขึ้นมั้ยว่าสถานที่นี้มันน่าหลงใหล น่าไป มันเกี่ยวกับ theory เกี่ยวกับจิตวิทยาหน่อย ๆ ด้วยตัวเองเป็นคนที่ชอบถ่ายรูปอาหารโพสต์บน Instagram อยู่แล้ว แล้วก็ด้วยความที่เราเป็น foodie หรือ food blogger เนี่ยก็ทำให้เราอยากรู้ว่าสิ่งที่เราโพสต์ลงไปเนี่ยมันจะส่งผลให้คนอื่นเค้าอยากไปหรือเปล่า ซึ่งอาจารย์ก็สนใจ
เคยได้ยินมาเหมือนกันว่าเวลาเรียน ป. เอก เราต้องเลือกอาจารย์ ทำไมต้องเป็นอย่างนั้น
แล้วได้ทำงานวิจัยร่วมกับอาจารย์มั้ย
ไปยังไงมายังไงถึงมาเรียนที่บริสเบน
แต่พอถึงเวลาเอ็นทรานซ์ ตอนนั้นมืดแปดด้านจริง ๆ เลยไม่ถูกส่วนคะแนนก็ไม่ได้ดีอะไรเลย ก็เลยเลือกคณะแบบไม่ได้คิดจริงจังและก็พลาดทั้งหมด จริง ๆ แล้วฝ้ายจะบอกเลยว่าตอนนั้นหาตัวตนไม่เจอจริง ๆ รัฐศาสตร์ก็เหมือนจะดีแต่ก็คิดว่ายังไม่ใช่ พอรู้ว่าเราเอ็นทรานซ์ไม่ติดเหมือนเพื่อน ๆ ตอนนั้นนอนร้องไห้ทั้งน้ำตาเลยทีเดียว แต่หลังจากนั้นก็ทบทวนตัวเองแล้วตัดสินใจว่าจะปล่อยตัวเองแบบนี้ไปไม่ได้แล้ว ต้องทำอะไรซักอย่าง ก็เลยตัดสินใจมาต่อที่ออสเตรเลีย เพราะว่ามันไม่ไกลจากเมืองไทยมาก ตอนนั้นก็อายุแค่ 18 ปีพ่อแม่ก็เป็นห่วง แต่ก็สัญญากับพ่อแม่ว่ามาครั้งจะนี้เปลี่ยนตัวเอง หลังจากวันนั้นจำได้เลยค่ะว่าทุกวันตื่นเช้ามานั่งทำแบบฝึกหัดภาษาอังกฤษทุกวัน เพราะว่าไม่อยากทำให้พ่อแม่เสียใจอีกแล้ว
ได้ยินว่าฝ้ายมีประสบการณ์การเรียนต่างประเทศ เที่ยว และทำงานหลากหลาย พอจะแชร์ให้เพื่อน ๆ ฟังหน่อยได้มั้ย
เป็นอะไรที่แตกต่างมากเลยอ่ะ แล้วก็ไม่คิดว่าจะหนาวขนาดนี้ หนาวแบบติดลบ แต่ก็สนุกที่ได้เที่ยว ฝ้ายชอบสเปน ตึกเค้าสวย ไปแบคแพคกับพี่ผู้หญิงคนนึง เราทั้งสองคนก็พูดสเปนไม่ได้ แล้วคนสเปนก็ไม่พูดภาษาอังกฤษ ก็เลยต้องใช้ภาษามือกันแทน แล้วก็ไป เบลฟาสไอแลนด์ แหล่งไททานิค ไจแอนท์คอสเลค เป็นเนินหินสูง ๆ ไปรถไฟ 9 ¾ ในเรื่อง Harry Potter
เรียนจบก็กลับไทย ไปได้งานที่หอการค้าออสเตรเลีย-ไทย (AustCham Thailand) ต้องทำงานคู่กับสถานทูตฯ ของออสเตรเลีย แล้วก็พวก AusTrade, BOI, Thai Trade งานหลัก ๆ ก็คือเป็นคนประสานงานระหว่างธุรกิจกับสถานทูตฯ (first point of contact) แล้วเราก็จะจัดงานอีเวนท์เพื่อสร้างเครือข่าย จัดสัมมนาเกี่ยวกับการลงทุน เป็นประสบการณ์ที่สนุกและเหนื่อย (ฮา)
กลับมาที่เรื่อง PhD ปกติใช้เวลาเรียนกี่ปี
มีอีเมล์นึงที่ supervisor ส่งมาแรงมาก คือเค้าส่งรีพอร์ตไปที่เจ้าหน้าที่บอกว่า คนนี้ performance ตก ไม่สามารถที่จะสอบ on time ได้ ฉะนั้นขอ 3 เดือนให้เค้าไปทบทวน แล้วคือฝ้ายกลับบ้านมาร้องไห้ เครียดมาก คือทำงานไม่ทันแล้ว พออาจารย์พูดมาแบบนั้นก็ดาวน์เลยอ่ะ อยู่บ้าน 2-3 วันไม่ออกไปไหน เราก็คุยกับพ่อแม่แล้วก็นึกถึงตอนที่เราอยากมาเรียนมาก ๆ ไฟแรง แล้วก็นึกได้ว่าอาจารย์เค้าไม่ได้เกลียดเราหรอก เค้าเป็นเหมือนพ่อแม่เราแหละที่ตั้งความหวังไว้กับเราแล้วก็อยากให้เราสำเร็จ ฝ้ายก็เลยสู้เขียนดราฟท์แรกให้เค้า ซึ่งเค้าก็บอกว่ามันดีมากจริง ๆ คนละเรื่องกับอันที่ส่งมาให้เมื่อ 3 อาทิตย์ก่อนหน้านี้ พอดราฟท์ที่ 2 ก็เหมือนก้าวกระโดด ปกติคนจะส่งประมาณ 10 ดราฟท์ อันนี้ฝ้ายส่ง 5 ดราฟท์ แล้วก็สอบแล้วก็ผ่านได้เป็น candidate แล้ว น้ำตาจะไหลตอนที่รู้ผล
ความแตกต่างของการเรียน ป. โท กับ ป. เอก ต่างกันมากมั้ย
ที่มา: @foodietheorist
แล้วมาค้นหาตัวเองเจอตอนที่เรียน PhD รึเปล่า
พอฝ้ายจบกลับมาที่ไทย ก็ลองซับมิทงานวิจัยตอน ป. โท ไปที่งานคอนเฟอเรนส์ที่มาเก๊า ซึ่งใช้เงินตัวเองหมดเลย แล้วก็ได้เจอ supervisor คนปัจจุบัน พอไปแล้วเหมือนงานในฝัน เพราะเราได้ไปเจอคนที่เราใช้เป็นเรเฟอเรนส์อยู่ในงานเต็มไปหมด อารมณ์เหมือนเป็นติ่งดารา (ฮา) แล้วเราก็ได้ไปพรีเซนต์เป็นคนสุดท้ายด้วยนะ เป็น finale เลยทีเดียว (ฮา)
เวลาท้อเรื่อง PhD ทีไรก็จะนึกถึงอารมณ์นั้น ให้สู้ต่อไป ตอนเป็นเด็กก็ไม่ได้เรียนเก่งนะ ตอน ป. ตรี มันก็ยังเด็ก ๆ เจอแต่เอเชีย แต่พอ ป. โท ก็จะเจอฝรั่งเยอะ แล้วเค้าอายุเท่าเรา แต่ทำงานกันแล้ว เราก็จะโตเป็นผู้ใหญ่ตอนนั้นแหละ
ตอนนี้อายุ 27 แต่เพิ่งมาค้นพบตัวเองตอน 25 คือบางคนเรียนจบมาแล้วแบบฉันจะเป็นทนาย วางแผนตัวเองไว้หมดแล้ว อย่างนั้นก็ดี แต่ว่าจริง ๆ แล้วของอย่างนี้มันใช้เวลา ไม่ต้องไปรีบ อย่าง supervisor คนปัจจุบันเค้าก็เพิ่งจะมาทำ PhD ตอนเค้าอายุ 45 ตอนนี้ 55 เค้าเป็นศาตราจารย์ เค้าก็บอกว่าสิ่งที่เข้ามาในชีวิตน่ะมันไม่ได้มาตามแพลนหรอก แบบ 18 ปียูต้องเรียนอันนี้ 25 ปียูต้องทำงานนี้ มันไม่ใช่ ทุกอย่างใช้เวลาและเราต้องมี passion กับมัน ส่วนพ่อแม่ก็บอกว่าไม่น่าเชื่อเลยจากเด็กวันนั้นที่ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร ภาษาอังกฤษไม่ได้เรื่อง เอ็นทรานซ์ไม่ติด ไม่เอาไหน แต่จุดเปลี่ยนเรื่องเอ็นทรานซ์จะทำให้มาไกลขนาดนี้ (น้ำตาจะไหล ฮา)
สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังตัดสินใจว่าจะมาต่างประเทศดีมั้ย มีอะไรจะแนะนำบ้าง
สุดท้ายอยากมีอะไรฝากถึงน้อง ๆ นักเรียนไทยมั้ย
สำหรับตอนนี้นะคะฝ้ายกำลังเก็บข้อมูลส่วนแรกของ PhD Thesis ในส่วนแรกจะเป็นการเก็บข้อมูลโดยการออกไปสัมภาษณ์(interview) ถ้าใครสนใจและคิดว่าชื่นชอบในการถ่ายและดูภาพอาหารต่างๆบน social media สามารถติดต่อฝ้ายมาได้ที่อีเมลล์ Guljira.manimont@hdr.qut.edu.au ค่ะ ในส่วนที่สองของงาน thesis นั้น ฝ้ายจะเก็บข้อมูลแบบ survey ในช่วงประมาณเดือน พฤษภาคม ค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างกับประสบการณ์มึน ฮา โฮ ของน้องฝ้าย พอจะเป็นกำลังใจหรือแนวทางให้เพื่อน ๆ น้อง ๆ ไม่ย่อท้อและไม่ต้องกังวลไปหากยังค้นหาตัวเองไม่เจอ บางครั้งมีการลองผิดลองถูก จบมาได้งานไม่ตรงสาย หรือพอทำไปก็รู้สึกว่าไม่ใช่ บางคนอาจจะมองว่าเป็นการเสียเวลา ไม่น่าเลือกผิดเลย แต่จริง ๆ แล้วทุกประสบการณ์ที่เราพบเจอ ความรู้ เรื่องราวต่าง ๆ ผู้คนที่เข้ามาในชีวิต ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งที่ขัดเกลาความเป็นเราและเป็นเหมือนเข็มทิศข้างในชี้ให้เราว่าอยากจะเดินไปทางไหน ถึงแม้เส้นทางจะอ้อม ซิกแซกไปบ้าง แต่ถ้าเรายังคงก้าวเท้าเดินต่อไป เราก็จะถึงจุดหมายแน่นอน และทางที่ผ่านก็คือสีสันของชีวิต ทุกวันพระอาทิตย์ก็ยังคงขึ้นทางทิศตะวันออกอยู่เสมอ ทุกวันก็คือวันใหม่ ทีมงานมาบริสเบนก็ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อน ๆ ทุกคนสู้ต่อไปนะคะ/ครับ