วันพฤหัสบดี, 21 พฤศจิกายน 2567

Booking.com

รวมเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาของออสเตรเลีย

เผยแพร่เมื่อ 27 มกราคม 2567 โดย Yingg Is

ปัญหาค่าเช่าบ้านและค่าครองชีพที่สูงขึ้น, มาตรการวีซ่าเปลี่ยนแปลง, ผู้คนทยอยเข้าประเทศจนล้น , สงครามการหางาน และข่าวอื่น ๆ อีกมาก เป็นเรื่องเครียดที่ทำให้เราต่างกังวลใจในปีที่ผ่านมา แท้จริงแล้วข่าวดี ๆ  ก็มีในปีที่ผ่านมาก็มีเหมือนกัน ไม่ว่าจะทั้งในวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์, ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงความเคลื่อนไหวทางด้านสังคมและสิทธิเสรีภาพ เรามาสรุปรวมเรื่องราวดี ๆ ที่ทำให้เราได้ใจฟูกัน

 

 

แนวประการัง Great Barrier Reef ที่ถูกฟื้นฟู

good news in 2023 aus 01

ที่มาภาพ : unsplash.com

 

      เป็นเรื่องน่ายินดี ที่แนวปะการังธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดสามติดต่อกัน ทำให้เกิดความหวังสำหรับอนาคตของระบบนิเวศอันยิ่งใหญ่แห่งนี้ หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากภาวะปะการังฟอกขาว ที่เกิดจากภาวะโลกร้อนน้ำอุ่นขึ้นผิดปกติ Dr Mike Emslie ซึ่งเป็นผู้นำโครงการติดตามแนวปะการังระยะยาวที่ the Australian Institute of Marine Science (Aims) กล่าวว่า มีความคาดหวังว่าแนวปะการังจะยังคงฟื้นตัวต่อไป แต่ยังมีข้อมูลอื่นที่ยังต้องกังวล

 

การฟื้นตัวในช่วงไม่กี่ปีมานี้ถือเป็น “ข่าวดีอย่างแน่นอน” แต่อาจเลวร้ายลงได้อย่างรวดเร็ว จากปัญหาการฟอกขาวอีกครั้ง และมีความเสี่ยงจากโรคเกี่ยวกับปะการังอีกด้วย อย่างไรก็ตามมีผู้เชี่ยวชาญที่ต่างดูแลการฟื้นตัวอย่างใกล้ชิด และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่ดีขึ้น จะช่วยเป็นอีกกำลังสำคัญที่ฟื้นฟูความสมบูรณ์บริเวณนี้

 

 

เฉียดตาย...ชายและสุนัขของเขารอดชีวิต หลังจากหายไป 2 เดือนกลางมหามสุทร 

good news in 2023 aus 02

ที่มาภาพ : goodnewsnetwork.org

 

      ใครที่ไถจอบนโซเชียลมีเดีย คงเคยผ่านตากับข่าวการค้นพบชายคนหนึ่งที่มีชื่อว่า Timothy Shaddock และสุนัขของเขา บนผืนน้ำอันเวิ้งว้างกลางมหาสมุทรแปซิฟิก หลังจากแล่นเรือจากชายฝั่งเมื่อ 2 เดือนก่อน เรื่องราวการเอาชีวิตรอด (และน่าสะเทือนใจ) ของ Shaddock เริ่มต้นจากการออกเดินทางจากซิดนีย์ในเดือนพฤษภาคมด้วยเรือคาตามารัน ระหว่างทางไป French Polynesia แต่ด้วยสภาพอากาศเลวร้าย ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเรือพัง และในไม่ช้าก็หลงทางในความมืดมิด Shaddock เอาชีวิตรอดด้วยการหลบภายในห้องเรือ เพื่อปกป้องจากการถูกแดดเผา และจับปลาให้เพียงพอสำหรับเขาและสัตว์เลี้ยง ด้วยอุปกรณ์ที่ติดอยู่บนเรือ รวมถึงดื่มน้ำฝนเพื่อประทังชีวิต

 

ตลอดระยะเวลา 2 เดือนของการอยู่อย่างโดดเดี่ยว ก็ได้รับการช่วยเหลือจากเรือลากอวนปลาทูน่าที่ผ่านมาเจอ ช่องข่าวออสเตรเลียรายงานว่าเขาไม่ได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือสาหัสใด ๆ  และได้ถูกนำตัวกลับมาที่เม็กซิโก ซึ่งเขาจะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสม สภาพชายคนนี้ที่หายตัวไป 2 เดือน ไม่ต่างอะไรกับ Chuck Noland ชายผู้ถูกทอดทิ้งบนเรือกลางมหาสมุทรในหนังเรื่อง Cast Away เลยทีเดียว

 

 

สิทธิที่มากขึ้น ของบุคคลเพศกำกวม (Intersex) 

good news in 2023 aus 03

ที่มาภาพ : unsplash.com

 

      Intersex หรือภาวะเพศกำกวม คือคนที่เกิดมามีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากปกติ จนไม่สามารถระบุเพศชัดเจนได้ มีทั้งการเกิดมามีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศ, ปริมาณฮอร์โมนหรือโครโมโซมเพศที่ผิดปกติ หรือแม้กระทั่งลักษณะด้านอื่น ๆ ที่ค่อย ๆ ปรากฎเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งไม่ได้หมายถึงเพศสภาพหรือรสนิยมทางเพศของบุคคลนั้น

 

มีคนทั่วโลกราว 1.7% เกิดมามีภาวะเพศกำกวม เด็กที่เกิดมาลักษณะดังกล่าว ต้องกลับได้รับการผ่าตัด เพื่อให้เหลือเพศใดเพศหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดคำถามตามมาว่าการผ่าตัดเลือกเพศให้เด็กที่มีภาวะเพศกำกวมนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่...รัฐบาลเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งนี้ Australian Capital Territory หรือ ACT จึงกลายเป็นพื้นที่แรกในออสเตรเลีย ที่ผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิและทางเลือกของบุคคลที่มีเพศกํากวมในสถานพยาบาล สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาทางการแพทย์ ที่ส่งผลต่อร่างกายของตนเองได้ อีกทั้งรัฐบาลของ ACT กำลังปรับปรุงการบริการในสถานพยาบาล เพื่อเพิ่มความพร้อมและคุณภาพในการดูแลบุคคลเพศกำกวมและครอบครัวอีกด้วย นับเป็นก้าวสำคัญของสิทธิเสรีภาพของสภาพเพศอันหลากหลาย

 

  

พัฒนาเทคโนโลยีโดรน ที่ช่วยชีวิตจากนักเล่นเซิร์ฟ 

good news in 2023 aus 04

ที่มาภาพ : unsplash.com

 

      อีกหนึ่งข่าวดีกับความปลอดภัยทางทะเลของรัฐควีนส์แลนด์ โดยปกติการปกป้องนักเล่นเซิร์ฟและนักท่องเที่ยวชายหาดจากฉลาม มักใช้เบ็ดและอวน แต่นั่นคือการไปทำร้ายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในทะเล เช่น โลมา พะยูน และเต่า รวมถึงฉลามนั่นเอง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืนเท่าที่ควร

 

จากผลกระทบเหล่านี้ ทำให้เกิด “SharkSmart” โดรนตัวใหม่ ลอยเหนือน้ำพื่อมองหาฉลาม ช่วยเจ้าหน้าที่จากทางชายฝั่งไปไกล 400 เมตร โดรนนี้บินอยู่ที่ความสูงประมาณ 60 เมตรเหนือผิวน้ำ หากพบเห็นฉลามหรือสัตว์น้ำต้องสงสัย มุ่งตรงเข้าชายฝั่ง ก็สามารถบินต่ำลงเพื่อยืนยันขนาดและสายพันธุ์ได้ แต่ยังพบปัญหาของการใช้งานในสภาพอากาศเลวร้าย แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่มีคนอยู่บนชายหาดน้อยกว่าอยู่ดี นับว่าเป็นการเทคโนโลยีช่วยสัตว์ สิ่งแวดล้อมและช่วยชีวิตผู้คนได้อย่างดีเยี่ยม

 

 

ค้นพบเอนไซม์ที่เปลี่ยนอากาศ ให้เป็นไฟฟ้าพลังงานสะอาด

คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=DrNJMFFIPqs 

ที่มาคลิป : ช่อง Monash Biomedicine Discovery Institute

 

      มนุษย์ทุกวันนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าแทบจะตลอดเวลา โดยเฉพาะจากการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือน แม้ว่าจะไม่ได้เกิดการเผาไหม้โดยตรง แต่ย่อมทำลายทรัพยากรธรรมชาติในทางอ้อม เมื่อปีที่แล้วนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียได้ค้นพบเอนไซม์ที่ใช้ไฮโดรเจนจากแบคทีเรียในดินทั่วไป ให้เปลี่ยนอากาศให้เป็นพลังงานได้ การค้นพบนี้ตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำอย่าง Nature เผยให้เห็นว่าเอนไซม์นี้ใช้ไฮโดรเจนในชั้นบรรยากาศในปริมาณต่ำ เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้า การค้นพบนี้ปูทางไปสู่การสร้างอุปกรณ์ที่สร้างพลังงานจากอากาศ นวัตกรรมนี้ค้นพบโดยทีมวิจัยนำโดย Dr Rhys Grinter, นักศึกษาปริญญาเอก Ashleigh Kropp และ Professor Chris Greening จาก Monash University Biomedicine Discovery Institute (BDI)  นักวิจัยได้สกัดเอนไซม์จากแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า Huc จากแบคทีเรีย Mycobacterium Smegmatis เอนไซม์นี้เปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนให้เป็นกระแสไฟฟ้า Huc เปรียบเสมือน "แบตเตอรี่ธรรมชาติ" ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าที่ยั่งยืน  แม้ว่างานวิจัยนี้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น การค้นพบ Huc ถือเป็นก้าวแรกของพลังงานทางเลือก แทนอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์

 

 

นวัตกรรมแขนเทียมสำหรับผู้พิการ ที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่เคยมี 

good news in 2023 aus 06

ที่มาภาพ : goodnewsnetwork.org

 

      นับเป็นเรื่องราวดี ๆ สำหรับวงการวิศวกรรม กับการพัฒนามือกลสำหรับผู้บกพร่องด้านการเคลื่อนไหว ที่สามารถขยับ จับสิ่งของ ได้ใกล้เคียงกับมือมนุษย์มากที่สุด พัฒนาและออกแบบโดยกลุ่มวิศวกรและศัลยแพทย์จากหลากหลายสาขาวิชา ทั้งจากสวีเดน ออสเตรเลีย และอิตาลี มีเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยการประสานกระดูกเข้ากับระบบประสาทของร่างกายด้วยวงจรไฟฟ้า โดยบุคคลแรกที่มีโอกาสใส่เข้าแขนกลนี้ มีชื่อว่า Karen เป็นวิศวกรผู้สูญเสียมือไปจากอุบัติเหตุจากเครื่องจักรเมื่อ 20 ปีก่อน ซึ่งหลังจากใส่แขนเทียม ทำให้เธอใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพ เช่นสามารถไขน็อตเพื่อซ่อมแซมอุปกรณ์ได้ สามารถหยิบจับสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ได้อย่างถนัดมือ อีกทั้งยังช่วยลดการเจ็บปวด จากการสวมใส่แขนเทียมแบบเดิม ๆ นับเป็นข้อพิสูจน์การพัฒนาด้านวิศวกรรมที่มีแนวโน้มดียิ่งชึ้น ช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้พิการที่ต้องเผชิญกับการสูญเสียร่างกายและความปวดร้าวทางจิตใจ

 

  

ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และผู้คนที่แสดงออกถึงตัวตนกันมากขึ้น ทำให้โลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดียิ่งขึ้น ในปี 2024 นี้เชื่อว่าจะมีแต่สิ่งดี ๆ และข่าวดีมากมายเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมและสังคมที่ดี ตลอดทั้งปีแน่นอน

 

อ้างอิงข้อมูล

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 28 ม.ค. 2567
Yingg Is

Yingg Is

ไปได้ทุกที่ ยกเว้นบ้าน