ข่าวล่าสุด:
เปลือยเท้าเข้าวัด....... ตอน 3
ต่อจากความเดิมตอนที่แล้ว หลังจากที่รถบัสได้นำเรามาส่งที่หน้าประตูพระธาตุเจดีย์ชเวมอดอร์ เหมือนเดิมครับ ถอดรองเท้ากันตั้งแต่ประตูเข้าวัด ตอนนี้ชักเริ่มฉลาดกันแล้ว จับรองเท้าหลุยส์ยัดใส่กระเป๋าเดินทางกันแล้วเพราะดูท่าจะไม่มีทางได้แต่งตัวเลิศหรูกันแน่กับทริปนี้ เตรียมเอารองเท้าแตะมาใส่บนรถจะได้เดินไปถอดไว้หน้าประตูวัดโดยไม่ต้องกลัวหาย เจดีย์ชเวมอดอร์ หรือ พระธาตุมุเตา (Shwe Mordore) นี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหงสาวดี เป็นเจดีย์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองและเป็น 1 ใน 5 มหาบูชาสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพม่า (นับเลยนะครับ พามาหนึ่งที่แล้ว) ภายในบรรจุพระเกศาธาตุรวม 2 เส้น (จากพระเกศาทั้ง 8 เส้น ที่ตปุสสะและภัลลิกะพ่อค้าชาวพม่าได้รับประทานจากพระหัตถ์พระพุทธเจ้าและนำกลับมายังพม่า ตามพุทธประวัติ) ติดตามอ่านกันต่อไปว่า พระเกศาธาตุอีก 6 เส้นอยู่ที่ใดบ้างนะครับ เดี๋ยวจะพาไปให้ครบ
พระธาตุเจดีย์องค์นี้มีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี เป็นที่เคารพสักการะของทั้งกษัตริย์ มอญ พม่า และไทย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ของไทย ก็เคยมาสักการะเจดีย์องค์นี้และสถานที่แห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่พระเจ้าหงสาลิ้นดำ ใช้เป็นที่เจาะพระกรรณ (หู) ตามพระราชประเพณีโบราณเพื่อทดสอบความกล้าหาญก่อนขึ้นครองราชย์ เป็นศิลปะที่ผสมผสานระหว่างศิลปะพม่าและศิลปะของมอญได้อย่างกลมกลืน เป็นพระธาตุเจดีย์ที่สูงที่สุดของพม่า ด้วยความสูงถึง 377 ฟุต สูงกว่า พระเจดีย์ชเวดากอง 51 ฟุต เรียนภาษาพม่ากันนิดครับ ชเวแปลว่าทองคำ มอดอว์แปลว่าจมูกร้อน ชเวมอดอว์จึงแปลว่าพระเจดีย์ทองจมูกร้อน เนื่องจากเป็นพระเจดีย์สูงที่สุดในพม่า เวลาแหงนหน้าดูในตอนบ่ายก็จะทำให้จมูกร้อน เพราะต้องแหงนกันสุด ๆ คนโบราณช่างเปรียบเปรยดีจัง
มีจุดอธิษฐานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่ตรงบริเวณยอดฉัตร ที่ตกลงมาเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 เมื่อตอนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในพม่า ด้วยน้ำหนักที่มหาศาล แม้ตกลงมายังพื้นล่างแต่ยอดฉัตรกลับยังคงสภาพเดิมคือ องค์พระธาตุไม่หักตกลงถึงพื้น และไม่แตกกระจายออกไป จนเป็นที่ร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธ์ สองไกด์หนุ่มได้นำคณะตรงไปนมัสการ ณ จุดอธิษฐานอันศักดิ์สิทธิ์นี้ และสาธิตการนำธูปไปค้ำกับส่วนของยอดของเจดีย์องค์ที่หักตกลงมาและให้เราเอาหน้าผากไปแตะพร้อมกับคำอธิษฐาน เพื่อเป็นสิริมงคล การนำธูปไปค้ำเสมือนดั่งค้ำจุนชีวิตให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป ถึงแม้ช่วงชีวิตที่ตกต่ำยังไงก็จะไม่ตกต่ำถึงที่สุด ซึ่งเปรียบเหมือนยอดพระธาตุที่ต่อให้ตกอย่างไรก็ตกไม่ถึงพื้น บนส่วนของยอดของเจดีย์องค์ที่หักตกลงมานี้มีแผ่นป้ายบรรยายด้วยภาษาพม่าว่าเป็นชิ้นส่วนขององค์เจดีย์องค์เดิมที่พังลงมาเมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหว เมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา
จะว่าเป็นความโชคดีซ่อนอยู่ในความโชคร้ายหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะเรามักจะเห็นภาพเจดีย์ในพม่านั้นสุกเปล่งปลั่งแวววาวตลอดเวลา แต่วันที่คณะเราไปถึงนั้นมีการรื้อแผ่นทองที่ปิดทับองค์เจดีย์ออกเพื่อเปลี่ยนแผ่นใหม่ จะมีการรื้อเปลี่ยนแผ่นทองคำแท้ซึ่งเก่าและสกปรกอันเกิดจากฝุ่น ขี้นก ขี้ค้างคาว กันทุก ๆ 5 ปี วันนี้แม้จะไม่ได้เห็นองค์พระเจดีย์สีทองอร่าม เห็นแต่นั่งร้านรายรอบตัวพระเจดีย์และแผ่นสังกะสีมาบุรอบองค์พระธาตุแทน แต่ได้รู้ได้เห็นวิธีการซ่อมแซมเปลี่ยนแผ่นทองของช่างพม่า ผู้เขียนมองแล้วก็สวยไปอีกแบบ แต่ก็หวังว่าเจดีย์ชเวดากองที่เคยเห็นในรูปคงยังไม่ถึงเวลาซ่อม ขอให้ซ่อมแค่ที่เดียวนี้เท่านั้นในเส้นทางที่จะเดินทางต่อไป สาธุ
พระธาตุเจดีย์องค์นี้มีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี เป็นที่เคารพสักการะของทั้งกษัตริย์ มอญ พม่า และไทย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ของไทย ก็เคยมาสักการะเจดีย์องค์นี้และสถานที่แห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่พระเจ้าหงสาลิ้นดำ ใช้เป็นที่เจาะพระกรรณ (หู) ตามพระราชประเพณีโบราณเพื่อทดสอบความกล้าหาญก่อนขึ้นครองราชย์ เป็นศิลปะที่ผสมผสานระหว่างศิลปะพม่าและศิลปะของมอญได้อย่างกลมกลืน เป็นพระธาตุเจดีย์ที่สูงที่สุดของพม่า ด้วยความสูงถึง 377 ฟุต สูงกว่า พระเจดีย์ชเวดากอง 51 ฟุต เรียนภาษาพม่ากันนิดครับ ชเวแปลว่าทองคำ มอดอว์แปลว่าจมูกร้อน ชเวมอดอว์จึงแปลว่าพระเจดีย์ทองจมูกร้อน เนื่องจากเป็นพระเจดีย์สูงที่สุดในพม่า เวลาแหงนหน้าดูในตอนบ่ายก็จะทำให้จมูกร้อน เพราะต้องแหงนกันสุด ๆ คนโบราณช่างเปรียบเปรยดีจัง
มีจุดอธิษฐานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่ตรงบริเวณยอดฉัตร ที่ตกลงมาเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 เมื่อตอนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในพม่า ด้วยน้ำหนักที่มหาศาล แม้ตกลงมายังพื้นล่างแต่ยอดฉัตรกลับยังคงสภาพเดิมคือ องค์พระธาตุไม่หักตกลงถึงพื้น และไม่แตกกระจายออกไป จนเป็นที่ร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธ์ สองไกด์หนุ่มได้นำคณะตรงไปนมัสการ ณ จุดอธิษฐานอันศักดิ์สิทธิ์นี้ และสาธิตการนำธูปไปค้ำกับส่วนของยอดของเจดีย์องค์ที่หักตกลงมาและให้เราเอาหน้าผากไปแตะพร้อมกับคำอธิษฐาน เพื่อเป็นสิริมงคล การนำธูปไปค้ำเสมือนดั่งค้ำจุนชีวิตให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป ถึงแม้ช่วงชีวิตที่ตกต่ำยังไงก็จะไม่ตกต่ำถึงที่สุด ซึ่งเปรียบเหมือนยอดพระธาตุที่ต่อให้ตกอย่างไรก็ตกไม่ถึงพื้น บนส่วนของยอดของเจดีย์องค์ที่หักตกลงมานี้มีแผ่นป้ายบรรยายด้วยภาษาพม่าว่าเป็นชิ้นส่วนขององค์เจดีย์องค์เดิมที่พังลงมาเมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหว เมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา
จะว่าเป็นความโชคดีซ่อนอยู่ในความโชคร้ายหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะเรามักจะเห็นภาพเจดีย์ในพม่านั้นสุกเปล่งปลั่งแวววาวตลอดเวลา แต่วันที่คณะเราไปถึงนั้นมีการรื้อแผ่นทองที่ปิดทับองค์เจดีย์ออกเพื่อเปลี่ยนแผ่นใหม่ จะมีการรื้อเปลี่ยนแผ่นทองคำแท้ซึ่งเก่าและสกปรกอันเกิดจากฝุ่น ขี้นก ขี้ค้างคาว กันทุก ๆ 5 ปี วันนี้แม้จะไม่ได้เห็นองค์พระเจดีย์สีทองอร่าม เห็นแต่นั่งร้านรายรอบตัวพระเจดีย์และแผ่นสังกะสีมาบุรอบองค์พระธาตุแทน แต่ได้รู้ได้เห็นวิธีการซ่อมแซมเปลี่ยนแผ่นทองของช่างพม่า ผู้เขียนมองแล้วก็สวยไปอีกแบบ แต่ก็หวังว่าเจดีย์ชเวดากองที่เคยเห็นในรูปคงยังไม่ถึงเวลาซ่อม ขอให้ซ่อมแค่ที่เดียวนี้เท่านั้นในเส้นทางที่จะเดินทางต่อไป สาธุ
เจอกันคราวหน้าจะพาท่องราตรีดูไฟแสงสีบนเขาด้วย ในตอนที่ 4 เร็ว ๆ นี้ครับ