วันพุธ, 22 มกราคม 2568

Booking.com

มลพิษทางอากาศที่ออสเตรเลียเป็นอย่างไรบ้าง? ..และ AQI คืออะไร?

เผยแพร่เมื่อ 05 เม.ย. 2019 โดย MaBrisbane

สภาพมลพิษทางอากาศที่ไทยโดยเฉพาะทางภาคเหนือได้เป็นข่าวดังไปทั่วโลก เนื่องด้วยบ้านเราเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ใคร ๆ ต่างก็นึกถึง จึงไม่แปลกที่ชาวต่างชาติจะให้ความสนใจเกี่ยวกับสภาพอากาศก่อนที่จะไปเยือน อย่างไรก็ตามมลพิษในอากาศไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยแค่ประเทศเดียว ยังมีอีกหลายประเทศที่อยู่ในเกณฑ์ unhealthy for sensitive groups – hazardous และส่วนใหญ่ก็อยู่กันในเกณฑ์ moderate

 

20190403 aqi thailand-washingtonpost

 

คุณภาพอากาศที่บริสเบนและออสเตรเลีย

สำหรับออสเตรเลียโดยรวมแล้วอยู่ในเกณฑ์ moderate ค่า AQI ในแต่ละเมืองใหญ่อยู่ในเกณฑ์ Good ดังนี้.. Brisbane 28, Melbourne 25, Sydney 15-45, Adelaide 13, Hobart 3, Perth 2 (ข้อมูลจาก http://aqicn.org ณ วันที่ 3 เมษายน 2019)

โดยสำหรับเมืองบริสเบนนั้น ทาง Brisbane City Council ได้ตั้งหน่วยงานเข้ามาควบคุมคุณภาพอากาศมานานกว่า 20 ปี โดยเมื่อปี 2016  ทาง BCC ได้รับรางวัล Clean Air Achievement Award จาก Clean Air Society of Australia and New Zealand หลังจากทาง BCC ได้ดูแลจัดการคุณภาพอากาศของเมืองตามแผนการจัดการที่วางไว้อย่างดีเยี่ยม มาตั้งแต่ปี 1996
(อ่านเพิ่มเติม..)

 

การจัดอันดับคุณภาพอากาศทั่วโลก ณ วันที่ 3 เมษายน 2019
จาก aqicn.org
20190403 aqi world
20190403 aqi ranking

 

Air Quality Index (AQI) หรือ ดัชนีคุณภาพอากาศ เป็นค่าที่หน่วยงานรัฐบาลใช้ในการสื่อสารกับมวลชนว่า ณ ขณะนี้สภาพอากาศเป็นมลพิษมากน้อยแค่ไหน หรือใช้ในการพยากรณ์สภาพมลพิษในอนาคต ยิ่งค่า AQI สูงเท่าไร จำนวนเปอร์เซ็นต์ของประชากรที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพก็เพิ่มขึ้นด้วย ในแต่ละประเทศจะใช้การวัดค่าแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของเกณฑ์สภาพอากาศในแต่ละท้องที่ ตัวอย่างของ AQI ในแต่ละประเทศได้แก่ Air Quality Health Index (Canada), Air Pollution Index (Malaysia) และ Pollutant Standards Index (Singapore) เป็นต้น

 

ค่าและความหมายในแต่ละระดับของ AQI

PM2.5
ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง
(มคก./ลบม.)
ดัชนีคุณภาพอากาศคำแนะนำสำหรับประชาชน
เกณฑ์ค่าดัชนี AQI
0-12 อากาศดี0-50 
13-35 ปานกลาง51-100

ประชาชนที่ไวต่อมลพิษมากกว่าคนทั่วไป: ควรลดการออกแรงหนักหรือเป็นเวลานาน และสังเกตอาการไอและเหนื่อยของตัวเอง
ประชาชนทั่วไป: ใช้ชีวิตได้ตามปกติ

36-55 ไม่ดีต่อกลุ่มเสี่ยง101-150

ประชาชนในกลุ่มเสี่ยง: ควรลดกิจกรรมนอกอาคารที่ใช้แรงหนักหรือเป็นเวลานาน โดยอาจพักเป็นระยะๆ หมั่นสังเกตอาการไอ ล้า ใจสั่น และแน่นหน้าอกของตัวเอง หากมีโรคประจำตัวให้ปฎิบัติตามที่แพทย์แนะนำ
ประชาชนทั่วไป: ใช้ชีวิตได้ตามปกติ

56-150 อากาศไม่ดี151-200 ประชาชนในกลุ่มเสี่ยง: ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกอาคารที่ใช้แรงหนักหรือเป็นเวลานาน พักหรือทำงานในอาคาร
ประชาชนทั่วไป: ควรลดกิจกรรมนอกอาคารที่ใช้แรงหนักหรือเป็นเวลานาน อาจพักเป็นระยะๆ
151-250 ไม่ดีอย่างยิ่ง201-300 ประชาชนในกลุ่มเสี่ยง: ควรงดกิจกรรมนอกอาคารทุกชนิด ทำกิจกรรมในอาคารแทน
ประชาชนทั่วไป: ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกอาคารที่ใช้แรงหนักหรือเป็นเวลานาน ทำกิจกรรมในอาคารแทน
251-500* อันตราย301-500** ประชาชนในกลุ่มเสี่ยง: ควรพักในอาคารเท่านั้น ทำกิจกรรมที่เบาๆ
ประชาชนทั่วไป: ควรงดกิจกรรมนอกอาคารทุกชนิด

 

มลพิษทางอากาศคืออะไร?

มลพิษทางอากาศคือการผสมผสานของอนุภาคและก๊าซที่เข้มข้นจนทำให้เป็นอันตรายทั้งภายในและภายนอกอาคาร ผลของมันมีทั้งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไปจนถึงอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น เขม่า ควัน ละอองเกสร ก๊าซเมเธน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นมลพิษที่พบได้ทั่วไป

อนุภาคมลพิษที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (PM 10 หรือเล็กลงไปอีก PM 2.5) หรือที่มักได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า "ค่าฝุ่น PM 2.5" เป็นอันตรายต่อร่างกายมากกว่าอนุภาคขนาดใหญ่เพราะเราสามารถสูดมันเข้าไปลึกในปอดได้ และอาจจะทำให้ผ่านเข้าไปในกระแสเลือด PM 2.5 มีขนาดที่เล็กมาก ขนาดของมันเทียบได้เพียงแค่ 3% ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมคน สามารถมองเห็นมันได้ผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเท่านั้น และด้วยขนาดที่เล็กและเบาของมัน ทำให้มันอยู่ในอากาศได้นานกว่าอนุภาคอื่นที่หนักกว่า เป็นผลให้เรามีโอกาสสูดดมมันเข้าไปได้มากขึ้น

 

PM 2.5 มาจากไหน?

เกิดได้จากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน ยานยนต์ เครื่องบิน การเผาฟืน ไฟป่า การเผาไหม้ทางการเกษตร การระเบิดของภูเขาไฟ และพายุฝุ่น ทำให้เกิดอนุภาคไปปนกับอากาศเลย ในขณะที่บางส่วนจะเกิดขึ้นเมื่อก๊าซและอนุภาคทำปฏิกิริยากันในชั้นบรรยากาศ ยกตัวอย่างเช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกจากโรงงานไปทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและหยดน้ำในอากาศทำให้เกิดกรดกำมะถันหรือกรดซัลฟิวริก

 

เราจะป้องกันตัวเองจาก PM 2.5 ได้อย่างไร?

เมื่อระดับ PM 2.5 อยู่ในขั้น unhealthy level ควรปฏิบัติดังนี้

  • อยู่ภายในอาคารและปิดหน้าต่าง ทางผ่านช่องลมต่าง ๆ ที่มลพิษสามารถเข้ามาได้
  • เปิดเครื่องฟอกอากาศที่มี HEPA filter เพราะเป็นประเภทเดียวเท่านั้นที่สามารถกำจัดอนุภาคขนาดเล็กในอากาศได้
  • ฟิลเตอร์ในแอร์ส่วนใหญ่ไม่ใช่ HEPA filter เนื่องจาก HEPA filter ทำให้อากาศผ่านเข้ายาก จึงทำให้เครื่องต้องทำงานหนักในการปล่อยและดูดอากาศ อย่างไรก็ตามแอร์ก็ยังมีประโยชน์ในกรณีที่อากาศบริสุทธิ์มีปริมาณจำกัด เนื่องจากมันช่วยทำให้มีการเคลื่อนไหวของอากาศและยังปรับอุณหภูมิในห้องให้พอเหมาะ
  • เมื่อทำการปิดหน้าต่างหมดแล้ว อย่าจุดเทียน ธูปหอม หรือเปิดเครื่องที่ทำให้มีควันหรือก๊าซ เพื่อป้องกันการก่อตัวของอนุภาคหรือก๊าซที่เป็นอันตราย เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์
  • หากคุณต้องขับรถ ควรมีเครื่องฟอกอากาศในรถที่มี HEPA และ activated carbon filters เครื่องฟอกอากาศในรถปกตินอกจากจะกำจัดอนุภาคขนาดเล็กไม่ได้แล้ว ยังไม่สามารถที่จะกำจัดฝุ่นควันจากการจราจรที่ติดขัดได้ทั้งหมด
  • หากมีการพยากรณ์ว่ามลพิษจะยาวติดต่อกันหลายวัน ลองพิจารณาเปลี่ยนที่อยู่ชั่วคราว
  • เพิ่มภูมิต้านทาน PM 2.5 ด้วยการทานอาหารเสริม คือ น้ำมันตับปลา วิตามินซี อี และบี
  • หากคุณจำเป็นจะต้องออกข้างนอก ให้เลือกการเดินทางที่รวดเร็วที่สุด และใส่หน้ากาก N95 หรือระดับที่สูงกว่า

 

 

ข้อมูลอ้างอิง:

www.npi.gov.au - "Particulate matter (PM10 and PM2.5)"
www.aqicn.org - "Air Pollution in Australia"
www.wikipedia.org - "Air quality index"
www.cmaqhi.org - "ChiangMai Air Quality Health Index

 

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 05 เม.ย. 2019
MaBrisbane

MaBrisbane

Welcome to The Sunshine State