วันพฤหัสบดี, 21 พฤศจิกายน 2567

Booking.com

การกรอกแบบฟอร์มผู้ป่วยใหม่เมื่อไปพบแพทย์

เผยแพร่เมื่อ 13 กรกฎาคม 2563 โดย EngMnMn
การกรอกแบบฟอร์มผู้ป่วยใหม่เมื่อไปพบแพทย์ Designed by pressfoto / Freepik

การไปพบแพทย์ครั้งแรก แน่นอนว่าเราจำเป็นจะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวและประวัติสุขภาพ เพื่อช่วยในการบันทึกและวินิจฉัย ไม่ว่าจะเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย ไปหาหมอฟัน หรือแม้แต่การไปฉีดวัคซีนตามร้านขายยาที่ให้บริการ ก็ต้องเจอกับฟอร์ม เชื่อว่าหลายคนต้องคิ้วขมวดกดมือถือแปลดูศัพท์กันไม่มากก็น้อย บทความนี้ได้รวบรวมเอาศัพท์ที่พบเห็นได้บ่อยในแบบฟอร์ม และศัพท์ที่อาจมีความจำเป็นได้กรอกหรือใช้สื่อสารกับแพทย์เกี่ยวกับประวัติสุขภาพของเรา

ทิป: หากไปพบหมอครั้งแรก หรือไม่ได้ไปพบเป็นเวลานาน ควรเผื่อเวลาไปถึงก่อนเวลานัดหมายประมาณ 15 นาที เพื่อใช้เวลาในการกรอกแบบฟอร์ม



First name/ Given name/ Forename - ชื่อจริง
Known as – เป็นชื่ออื่นที่เราเคยใช้ เช่น ชื่อก่อนสมรส
Surname / Last name/ Family name – นามสกุล

Titles - คำนำหน้าชื่อ ได้แก่:

  • Master - ใช้สำหรับเด็กผู้ชาย
  • Mr (Mister) - สำหรับผู้ชาย
  • Miss - สำหรับเด็กผู้หญิง และผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงาน
  • Mrs (ออกเสียงว่า mis-iz) - สำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว
  • Ms (ออกเสียงว่า miz) – สำหรับผู้หญิง ไม่บ่งบอกถึงสถานะสมรส


Marital status – สถานะสมรส ได้แก่:

  • Single - โสด
  • Married - สมรส
  • De facto – มีคู่ที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
  • Separated – สมรสแต่แยกกันอยู่
  • Divorced - หย่า
  • Widowed – ม่าย


Gender – เพศ male (ชาย) หรือ female (หญิง)
Date of birth - วัน เดือน ปี เกิด
Occupation - อาชีพ

Smoke / Tobacco - สูบบุหรี่
Alcohol - ดื่มสุรา
Drug use - ใช้สารเสพติด
Type - ชนิด ประเภท
Frequency - ความถี่ในการใช้
Ceased - หยุด เลิก


Medicare card number – หมายเลขบัตร Medicare
Medicare reference number - หมายเลขที่อยู่หน้าชื่อเราบนบัตร Medicare
Medicare card expiry date - วันที่บัตร Medicare หมดอายุ บนบัตรเขียนว่า “Valid to MM/YYYY”
Concession (Pension/ Health Care) card, or Veterans' Affairs number - หากเรามีหมายเลขบัตรต่าง ๆ เหล่านี้ให้กรอก
(if applicable) - ถ้าเห็นคำนี้ แสดงว่าเป็นช่องที่ไม่จำเป็นต้องกรอก ให้กรอกหากมีข้อมูล

Residential address/ Street address/ Home address - ที่อยู่บ้านที่เราอาศัยอยู่
Postal address - ที่อยู่ไปรษณีย์ สำหรับติดต่อ
หากที่อยู่ทั้งสองแห่งคือที่เดียวกัน อาจกรอกสั้น ๆ ว่า “Same as above”


Next of kin - ญาติใกล้ชิด
Relation to patient – ความสัมพันธ์กับคนไข้ เช่น เป็นพ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยา แฟน เพื่อน
Emergency contact person – ผู้ติดต่อยามฉุกเฉิน

Cultural background/ Identity/ Ethnicity - พื้นเพทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ส่วนใหญ่จะพบคำถามว่าเราเป็น Aboriginal หรือ Torres Strait Islander หรือไม่ บางแห่งจะให้เราระบุเชื้อชาติ และถามว่าเราต้องการล่ามไหม


Private Health Insurance – ประกันสุขภาพอื่น ๆ นอกจาก Medicare เช่น Bupa และ Medibank

Allergies / Intolerances / Sensitive to drugs – การแพ้ ให้กรอกชื่อยาที่เราแพ้
Reaction – อาการแพ้ มีอาการอย่างไรบ้าง
Severity – ขั้นของอาการแพ้หนักเบาแค่ไหน

Current medications / Regular medications - ยาที่ทานอยู่ ยาที่ทานเป็นประจำ
Over-the-counter medicines – ยาที่หาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ รวมไปถึงวิตามิน และอาหารเสริม
Doses – ปริมาณยาที่ทานแต่ละครั้ง
Contraceptive / Oral Contraceptive Pills / The Pill / Birth Control Pills - ยาคุมกำเนิด

Medical history / Medical information / Past medical / Surgical history- ประวัติสุขภาพ
Immediate family / Close relatives - ครอบครัวใกล้ชิด ได้แก่ พ่อแม่ พี่น้อง คู่ครอง ลูก หรือผู้มีสายเลือดเดียวกันที่มีความใกล้ชิดถือเป็นคนในครอบครัว บางทีจะมีการถามประวัติสุขภาพของญาติใกล้ชิด

Surgery - ผ่าตัด
Asthma - โรคหอบหืด
Diabetes – โรคเบาหวาน
High Cholesterol - โคเลสเตอรอลสูง
High blood pressure (Hypertension) – โรคความดันโลหิตสูง
Chronic illness – โรคเรื้อรัง
Heart disease - โรคหัวใจ
Migraine - ไมเกรน
Stroke – โรคหลอดเลือดสมอง
Blood clots - ลิ่มเลือด
Stomach ulcer / Peptic ulcer - โรคแผลในกระเพาะอาหาร
Epilepsy - โรคลมชัก
Depression / Anxiety - โรคซึมเศร้า วิตกกังวล
Mental illness – โรคทางจิต
Mood disorder – โรคทางอารมณ์


Cancer – โรคมะเร็ง
Skin cancer (Melanoma) – โรคมะเร็งผิวหนัง
Bowel cancer / Colorectal cancer / Colon cancer – มะเร็งลำไส้ใหญ่
Prostate cancer – โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
Ovarian cancer – โรคมะเร็งรังไข่
Breast cancer - โรคมะเร็งเต้านม
Family history of cancer - มีคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง
Pap smear / Pap test – การตรวจแปปสเมียร์ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การตรวจภายใน
Mammogram - การตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม

Immunisations - การฉีดวัคซีน เราได้ทำการฉีดวัคซีนตัวไหนมาแล้วบ้าง
Pneumococcal (pneumonia) – โรคปอดอักเสบ (ปอดบวม)                                    
Influenza (Flu) – โรคไข้หวัดใหญ่
Tetanus - โรคบาดทะยัก
BCG vaccine – วัคซีนวัณโรค (Tuberculosis: TB)
Hepatitis B vaccine (HBV) – วัคซีนตับอักเสบบี
DPT vaccine - วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน
Polio vaccine - วัคซีนโปลิโอ
MMR vaccine - วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม
Human papillomavirus (HPV) vaccine - วัคซีนที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี สาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูก

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 25 ส.ค. 2563
EngMnMn

EngMnMn

อิงลิช อีส มาย เซกั้น แลงเกวจ.