นับตั้งแต่ทางศูนย์ยื่นวีซ่าออสเตรเลียในไทยหรือ VFS ได้ปรับวิธีการยื่นขอวีซ่าฯไปเมื่อเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นไม่นานทางกระทรวงกิจการตรวจคนเข้าเมืองและพิทักษ์เขตแดนของออสเตรเลีย หรือ อิมมิเกรชั่น (Department of Immigration and Border Protection) ได้มีการปรับรายละเอียดขอมูลด้านวีซ่าไปเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2016 ที่ผ่านมา ก็มีประเด็นน่าสนใจเกิดขึ้น โดยมีความเห็นจากหลายคนถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ซึ่งมีทั้งดีขึ้นและยากลำบากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของวีซ่านักเรียน ซึ่งทางทีมงาน MaBrisbane จึงอยากนำเรื่องที่ได้รับแจ้งเข้ามานี้แบ่งปันให้เพื่อน ๆ ฟังกันด้วย.. ว่าประเด็นเรื่องนี้มันมีอะไรน่าสนใจบ้าง
Simplified student visa framework หรือ SSVF
Key changes
The SSVF has been designed to make the process of applying for a student visa simpler to navigate for genuine students, deliver a more targeted approach to immigration integrity and reduce red tape for business.
From 1 July 2016:- international students will apply for a single Student visa (subclass 500) regardless of their chosen course of study
- student guardians will apply for the new Student Guardian visa (subclass 590)
- a single immigration risk framework will apply to all international students
- all students and student guardians will generally be required to lodge their visa application online by creating an account in ImmiAccount.
ที่มา: https://www.border.gov.au/Busi/Educ/simplified-student-visa
SSVF ถือเป็นศัพท์ใหม่ของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ สรุปใจความสำคัญง่าย ๆ ก็คือ.. การขอวีซ่านักเรียนต่างชาติจะยุบรวมจาก Subclass ต่าง ๆ เหลือเพียงระบบเดียวที่ชื่อว่า SSVF โดยตัวนักเรียนเองจะเป็น Subclass 500 และ ผู้ปกครองดูแลนักเรียนที่อายุต่ำกว่า 18 ปีจะเป็น Subclass 590 ซึ่งอิมฯได้บอกเหตุผลว่าให้มันง่ายและกระชับเป็นระบบมากขึ้น พร้อมทั้งบังคับให้ทำการสมัครผ่านทางออนไลน์จากระบบ ImmiAccount เท่านั้น (แต่ก็มีข้อยกเว้นหากมีเหตุจำเป็นต้องยื่นเป็นกระดาษ อันนี้ต้องลองไปหาข้อมูลกันดูเองนะ)
ซึ่งหากมองลึกเข้าไปที่เนื้อในของระบบ SSVF แล้วนั้น ก็ไม่ได้รวมเป็นวีซ่าตัวเดียวกันไปเลยซะทีเดียว แม้จะใช้ฟอร์มยื่นตัวเดียวกันก็ตาม แต่จะมีเงื่อนไขการพิจารณาเอกสารที่ต้องใช้แนบเพื่อขอวีซ่าแยกไปตามรายบุคคล โดยมีปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดเอกสารในการสมัครอยู่ 2 เรื่องสำคัญ คือ ประเทศของผู้ยื่นวีซ่า และ สถาบันที่เลือกเรียน (อ้างอิง: Combined country and provider immigration risk model; The combined immigration risk outcomes of the student’s education provider and country of citizenship are used to guide the level of financial and English language capacity related documentation that the student needs to provide with their student visa application. – border.gov.au)
Country immigration risk rating (ประเทศของผู้ยื่นวีซ่า) |
||||
One | Two | Three | ||
Education provider immigration risk rating (สถาบัน ที่เลือกเรียน) |
One | Streamlined | Streamlined | Streamlined |
Two | Streamlined | Streamlined | Regular | |
Three | Streamlined | Regular | Regular |
One, Two, Three เรียงลำดับจากระดับความเสี่ยงต่ำ -> สูง
Stremlined ใช้เอกสารน้อยกว่า Regular
แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
เมื่อกรอกข้อมูลจาก Document Checklist Tool โดยระบุประเทศของพาสปอร์ตที่เราถือ และ สถาบันที่จะลงเรียน หลังจากนั้นก็จะมีการแสดงรายการเอกสารที่ต้องใช้แนบในการขอวีซ่าตามมาให้เราดู ซึ่งจากปัจจัยด้านประเทศของผู้ยื่นวีซ่าดังที่กล่าวไปในตอนต้นนั้น ประเทศไทยของเราตกอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงระดับที่สองหรือปานกลาง หากสถาบันที่เราเลือกเรียนนั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือดี(ระดับหนึ่งหรือสอง) เอกสารในการสมัครก็จะเป็นแบบปกติ แต่หากสถาบันการศึกษาไหนที่เราเลือกเรียนอยู่ในเกณฑ์คุณภาพค่อนข้างต่ำหรือระดับสาม ก็จะมีการเรียกขอเอกสารเยอะขึ้นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเอกสารทางด้านการเงินซัพพอร์ตและผลสอบภาษาอังกฤษ ซึ่งอย่างหลังนี้จะพิจารณาจากแบ็คกราวน์การศึกษาของตัวผู้สมัครและคอร์สที่จะลงเรียนเป็นข้อมูลประกอบ อันนี้ใครอยากรู้ต้องลองกด Checklist กันดูเองนะจ๊ะ
ถ้าถามว่ามันยากขึ้นมั้ย มันก็แทบไม่ได้ต่างจากเดิมเท่าไหร่นัก ถ้าไม่ได้เลือกเรียนกับสถาบันที่อยู่ในระดับสามก็แทบจะเหมือนเดิมเลย แต่อาจจะรู้สึกว่าขั้นตอนการสมัครดูยุ่งยากขึ้นมากกว่า
วีซ่าที่ออกก่อน 1 กรกฎาคม 2016
ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียนอยู่แล้ว หรือ วีซ่าที่ออกก่อน 1 กรกฎาคม 2016 จะยังคงเป็นวีซ่าตัวเดิมอยู่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง นอกจากจะยื่นขอวีซ่าใหม่ถึงจะใช้ระบบ SSVF นี้
ต่อวีซ่านักเรียน จากการถือวีซ่า WAH ในประเทศออสเตรเลียได้แล้ว
อีกประเด็นน่าสนใจของการอัพเดทวีซ่าครั้งนี้คือเรื่องของผู้ที่มา หรือกำลังจะมาออสเตรเลียด้วยวีซ่า Work and Holiday (subclass 462) ซึ่งที่ผ่านมา(ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2016) ถ้าหากผู้ที่ถือวีซ่า 462 ไม่ติด เงื่อนไข 8503 หรือ 'No Further Stay' จะสามารถขอต่อวีซ่าในประเทศออสเตรเลียได้ แต่เป็นวีซ่าบางประเภท เช่น วีซ่าแต่งงาน หรือวีซ่าทำงาน เป็นต้น หากเป็นวีซ่านักเรียนนั้นจะเข้าข่ายเป็นวีซ่าที่ไม่สามารถขอยื่นภายในประเทศออสเตรเลียได้ เนื่องจากติดเงือนไขด้าน Pre-qualifying visas ของตัววีซ่านักเรียนเอง ซึ่งได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าคนที่จะต่อวีซ่านักเรียนภายในประเทศออสเตรเลียนั้นต้องเป็นวีซ่าแบบ Temporary ที่ไม่ใช่หนึ่งในประเภทจากรายการที่ระบุไว้ และในนั้นก็มี Working and Holiday อยู่ด้วย ทำให้คนที่มาเที่ยวและทำงานด้วยวีซ่า 462 ตัวนี้ไม่สามารถขอวีซ่านักเรียนต่อได้ หากอยากเรียนก็ต้องกลับไปยื่นเรื่องใหม่ที่ประเทศไทย
Pre-qualifying visas
(เงื่อนไขการขอวีซ่านักเรียนภายในประเทศออสเตรเลีย, subclass 500)
ที่มา: https://www.border.gov.au/Trav/Visa-1/500-
แต่หลังการเปลี่ยนแปลงวีซ่า 1 ก.ค. ครั้งนี้ใน Pre-qualifying visas ของวีซ่านักเรียนตามรูปประกอบด้านบน ได้ถอดวีซ่า Working and Holiday หรือ 462 ออกไป ซึ่งนั่นก็หมายความว่าผู้ที่กำลังถือวีซ่าตัวนี้อยู่ สามารถขอยื่นสมัครวีซ่านักเรียนต่อภายในประเทศออสเตรเลียได้แล้ว ดังนั้นจึงเป็นข่าวดีหากใครที่มาออสเตรเลียด้วยวีซ่า 462 แล้วเกิดอยากเรียนภาษาเพิ่มเติมหรือลงเรียนคอร์สอื่น ๆ ดังนั้นหากรู้ว่าตัวเองอยากต่อวีซ่าให้รีบหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือหาผู้ช่วยอย่างเช่นเอเจนท์นักเรียนตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วอย่างน้อย 2-3 เดือนก่อนวีซ่า 462 จะหมดก็ต้องเริ่มเก็บเอกสารในการยื่นขอวีซ่านักเรียนได้แล้ว
อ่านบทความเกี่ยวกับ Working and Holiday เพิ่มเติมได้ที่.. “เตรียมพร้อมสำหรับ Work and Holiday Visa ออสเตรเลีย, 1 ปี มีแค่ครั้งเดียว!!”
เงื่อนไขอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง
สถานภาพทางการเงินของผู้สมัครวีซ่า หรือสเตทเมนท์เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในออสเตรเลียได้ปรับเพิ่มเป็น AUD 19,830 ต่อปี
ห้ามลดระดับคอร์สเรียน หลังวีซ่าอนุมัติ *หาข้อมูลเพิ่มเติม
นอกเหนือจากสองเรื่องที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังมีเรื่องอื่นอีกเช่น ฟอร์มสมัครใหม่ถามจุกจิกเยอะมาก คนที่สมัครขอวีซ่าใหม่ถึงขั้นต้องกุมขมับ ซึ่งอันนี้ก็พอเข้าใจทางอิมฯนะว่าในเมื่อมันยุบรวมกัน ก็คงต้องมีการสอบถามรายละเอียดเจาะลึกมากขึ้น, ค่าสมัครวีซ่าแพงขึ้น ซึ่งอันนี้ถือว่าไม่เซอร์ไพรส์เท่าไหร่นักเพราะปรับกันแทบจะทุกปี ใครสมัครก่อนมาเรียนก่อนก็โชคดีไป
จบแล้วสำหรับประเด็นที่เราหยิบยกเอามาเล่าให้ฟังหากเพื่อน ๆ มีเรื่องสงสัยอะไรอีก ลองสอบถามกันเข้ามาในคอมเมนท์ด้านล่างนะจ๊ะ เผื่อจะได้หยิบเอามาเล่าสู่กันฟังอีกในบทความครั้งต่อไป :)
หมายเหตุ: บทความนี้เป็นประสบการณ์และความรู้จากการศึกษาของผู้เขียนเอง ทั้งนี้ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและหาข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ